- ไทยได้เลื่อนแผนการปรับใช้น้ำมัน E20 ออกไปเป็นปีหน้า
- ปริมาณการผลิตอ้อยและมันสำปะหลังนั้นยังไม่เพียงพอที่จะส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย
- และยังต้องส่งเสริมยานพาหนะที่รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ให้ครอบคลุมมากขึ้นอีกด้วย
แผนการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E20
- ในปีพ.ศ. 2561ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ออกแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (พ.ศ. 2561 – 2580) หรือ ADEP 2018
- จากแผนงานดังกล่าว ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะใช้พลังงานทดแทนที่ 30% ของสัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมด ภายในปี พ.ศ. 2580
- และหนึ่งในนโยบายที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายก็คือ ประเทศไทยจะมีการเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลมากขึ้น
- ณ ปัจจุบัน น้ำมันเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในประเทศไทยมีส่วนผสมของเอทานอลอยู่ที่ 10% และต้องการที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 20% ภายในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
- อย่างไรก็ตาม แผนงานนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปในปีหน้า เนื่องมาจากผลกระทบจากราคาเอทานอลอ้างอิงที่สูงขึ้นซึ่งสูงที่สุดในรอบห้าปีที่ผ่านมาซึ่งก็เป็นเพราะราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (มันสำปะหลัง และ กากน้ำตาล)
- ที่ราคาระดับนี้ เป็นเรื่องที่ยากสำหรับรัฐบาลที่จะสามารถส่งเสริมและจูงใจให้คนหันมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้
ความเป็นไปได้ของนโยบายน้ำมัน E20 ของประเทศไทย
- รัฐบาลยังมีการบ้านอีกเยอะพอสมควร ถ้าพวกเขาต้องการบรรลุเป้าหมายของแผนงานน้ำมันเชื้อเพลิง E20
- ซึ่งพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง เนื่องจากพืชสองชนิดนี้เป็นพืชพลังงานที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล
- ณ ปัจจุบัน ไทยสามารถผลิตอ้อยได้ประมาณปีละ 99.7 ล้านตัน และมันสำปะหลังที่ประมาณ 29.1 ล้านตัน
- อย่างไรก็ตาม ไทยต้องผลิตอ้อยอย่างน้อย 182 ล้านตัน และมันสำปะหลังอย่างน้อย 59.5 ล้านตันต่อปีถึงจะสามารถบรรลุเป้าของแผนงานได้
- ในการเพิ่มปริมาณการผลิตของพืชทั้งสองชนิด รัฐบาลคาดหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรกลทางการเกษตร และการส่งเสริมในส่วนของเทคโนโลยีการผลิต
- ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างเกือบเต็มประสิทธิภาพแล้ว ดังนั้นรัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลักสำคัญ
- เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะว่า โดยทฤษฎีแล้ว รัฐบาลควรที่จะลดปริมาณการส่งออกผลผลิตน้ำตาลและมันสำปะหลัง หรือส่งเสริมราคาเอทานอลหรือภาษีส่งออก แทนการเพิ่มปริมาณการผลิต
- ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำตาลทรายดิบที่ประมาณ 4 ล้านตัน และมันเส้นที่ 5.3 ล้านตันต่อปี
- นอกเหนือจากนี้ ประเทศไทยจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอลด้วยเช่นกัน
- ณ ปัจจุบัน จากจำนวนโรงกลั่นทั้งหมด 27 โรง ไทยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 6.3 ล้านลิตรต่อวัน
- การที่ไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E20 ได้สำเร็จ ไทยจะต้องผลิตอย่างน้อย 7.2 ล้านลิตรต่อวันภายในปี พ.ศ. 2569 และ 7.5 ล้านลิตรต่อวันภายในปี พ.ศ 2580
- นี่ก็เป็นเพราะว่า ประเทศไทยคาดว่าจะมีการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 14.5 พันล้านลิตรภายในปี พ.ศ. 2580 เพิ่มขึ้น 2.2 ล้านลิตรจากปัจจุบัน
- แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีความต้องการวัตถุดิบ (กากน้ำตาล และ มันสำปะหลัง) ในการผลิตและกำลังการผลิตอยู่มากพอสมควร
- วัตถุดิบอื่นๆ อาทิ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง และ มันฝรั่ง ก็มีอยู่ในไทยเช่นกัน แต่ไม่นิยมปลูกกันมากนัก จึงไม่มีปริมาณมากพอที่จะนำมาทดแทนในการผลิตได้
- โรงกลั่นก็ไม่สามารถเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตไปมาได้เช่นเดียวกัน
ไทยยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ หลังจากที่บรรลุเป้าหมายแล้ว
- ถ้าไทยสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ยังคงมีอุปสรรคที่บังต้องเผชิญอยู่
- ไทยจะต้องเพิ่มปริมาณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศที่สามารถจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้ ในปัจจุบันมีเพียงแค่ร้อยละ 60 ของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดที่สามารถจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้
- และรัฐบาลจะต้องหานโยบายเพื่อที่จะโน้มน้าวคนไทยให้หันมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 เพิ่มขึ้นด้วย
- สิ้นปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีสถิติจำนวนการจดทะเบียนยานพาหนะอยู่ที่ 41.5 ล้านคัน และส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ยังใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E10 อยู่
- ดังนั้น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 ในปริมาณที่มากนั้นต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของรถยนต์ที่จะมารองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ด้วย
- การพัฒนาการเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรสำหรับรัฐบาลเองและผู้ขับขี่รถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ขับขี่จะต้องมีการซื้อรถยนต์ใหม่
- นอกเหนือจากนั้น จะต้องพัฒนาและส่งเสริมในส่วนของภาษีและเศรษฐกิจให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน
สรุปความคิดเห็นของเรา เกี่ยวกับเป้าหมายนโยบาย E20
- เราคิดว่าไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตของอ้อยและมันสำปะหลังมากถึง 152% ภายในปี พ.ศ. 2569
- นี่ก็เป็นเพราะว่า ในไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ เราได้เห็นการสูญเสียผลผลิตไปจำนวนมากเนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งก็เป็นปัจจัยแวดล้อมที่เราไม่สามารถทำนายหรือคาดการณ์ได้
- ทั้งนี้ เราคิดว่ารัฐบาลควรที่จะมีแนวทางหรือแผนงานที่ชัดเจนกว่านี้สำหรับแผนงานดำเนินการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20
ความคิดเห็นอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ…
- การเดินทางบนถนนในโคลอมเบียของเรา: อยู่บนท้องถนนอีกครั้ง
- การผลิตบีทรูทของสหภาพยุโรปที่แข็งแกร่งช่วยการผลิตกากน้ำตาล
- ความยั่งยืนเป็นตัวขับเคลื่อน Bull Run ของการขนส่งสินค้าหรือไม่?
- ผลกำไรจากการนำเข้าวัตถุดิบของจีนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือน
คำอธิบายที่คุณอาจสนใจ…
- Czapp Explains: อุตสาหกรรมเอทานอลของอินเดีย
- Czapp Explains: อุตสาหกรรมน้ำตาลของบราซิล