• ไทยได้เลื่อนแผนการปรับใช้น้ำมัน E20 ออกไปเป็นปีหน้า
  • ปริมาณการผลิตอ้อยและมันสำปะหลังนั้นยังไม่เพียงพอที่จะส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย
  • และยังต้องส่งเสริมยานพาหนะที่รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ให้ครอบคลุมมากขึ้นอีกด้วย

แผนการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E20

  • ในปีพ.ศ. 2561ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ออกแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (พ.ศ. 2561 – 2580) หรือ ADEP 2018
  • จากแผนงานดังกล่าว ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะใช้พลังงานทดแทนที่ 30% ของสัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมด ภายในปี พ.ศ. 2580
  • และหนึ่งในนโยบายที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายก็คือ ประเทศไทยจะมีการเพิ่มสัดส่วนการใช้เอทานอลมากขึ้น
  • ณ ปัจจุบัน น้ำมันเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในประเทศไทยมีส่วนผสมของเอทานอลอยู่ที่ 10% และต้องการที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 20% ภายในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
  • อย่างไรก็ตาม แผนงานนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปในปีหน้า เนื่องมาจากผลกระทบจากราคาเอทานอลอ้างอิงที่สูงขึ้นซึ่งสูงที่สุดในรอบห้าปีที่ผ่านมาซึ่งก็เป็นเพราะราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (มันสำปะหลัง และ กากน้ำตาล)
undefined
  • ที่ราคาระดับนี้ เป็นเรื่องที่ยากสำหรับรัฐบาลที่จะสามารถส่งเสริมและจูงใจให้คนหันมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้

ความเป็นไปได้ของนโยบายน้ำมัน E20 ของประเทศไทย

  • รัฐบาลยังมีการบ้านอีกเยอะพอสมควร ถ้าพวกเขาต้องการบรรลุเป้าหมายของแผนงานน้ำมันเชื้อเพลิง E20
  • ซึ่งพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง เนื่องจากพืชสองชนิดนี้เป็นพืชพลังงานที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล
  • ณ ปัจจุบัน ไทยสามารถผลิตอ้อยได้ประมาณปีละ 99.7 ล้านตัน และมันสำปะหลังที่ประมาณ 29.1 ล้านตัน
  • อย่างไรก็ตาม ไทยต้องผลิตอ้อยอย่างน้อย 182 ล้านตัน และมันสำปะหลังอย่างน้อย 59.5 ล้านตันต่อปีถึงจะสามารถบรรลุเป้าของแผนงานได้
undefined
  • ในการเพิ่มปริมาณการผลิตของพืชทั้งสองชนิด รัฐบาลคาดหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรกลทางการเกษตร และการส่งเสริมในส่วนของเทคโนโลยีการผลิต
  • ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างเกือบเต็มประสิทธิภาพแล้ว ดังนั้นรัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลักสำคัญ
undefined
  • เรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะว่า โดยทฤษฎีแล้ว รัฐบาลควรที่จะลดปริมาณการส่งออกผลผลิตน้ำตาลและมันสำปะหลัง หรือส่งเสริมราคาเอทานอลหรือภาษีส่งออก แทนการเพิ่มปริมาณการผลิต
  • ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำตาลทรายดิบที่ประมาณ 4 ล้านตัน และมันเส้นที่ 5.3 ล้านตันต่อปี
undefined
  • นอกเหนือจากนี้ ประเทศไทยจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอลด้วยเช่นกัน
  • ณ ปัจจุบัน จากจำนวนโรงกลั่นทั้งหมด 27 โรง ไทยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 6.3 ล้านลิตรต่อวัน
  • การที่ไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน E20 ได้สำเร็จ ไทยจะต้องผลิตอย่างน้อย 7.2 ล้านลิตรต่อวันภายในปี พ.ศ. 2569 และ 7.5 ล้านลิตรต่อวันภายในปี พ.ศ 2580
undefined
  • นี่ก็เป็นเพราะว่า ประเทศไทยคาดว่าจะมีการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 14.5 พันล้านลิตรภายในปี พ.ศ. 2580 เพิ่มขึ้น 2.2 ล้านลิตรจากปัจจุบัน
undefined
  • แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีความต้องการวัตถุดิบ (กากน้ำตาล และ มันสำปะหลัง) ในการผลิตและกำลังการผลิตอยู่มากพอสมควร
  • วัตถุดิบอื่นๆ อาทิ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง และ มันฝรั่ง ก็มีอยู่ในไทยเช่นกัน แต่ไม่นิยมปลูกกันมากนัก จึงไม่มีปริมาณมากพอที่จะนำมาทดแทนในการผลิตได้
  • โรงกลั่นก็ไม่สามารถเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตไปมาได้เช่นเดียวกัน

ไทยยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ หลังจากที่บรรลุเป้าหมายแล้ว

  • ถ้าไทยสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ยังคงมีอุปสรรคที่บังต้องเผชิญอยู่
  • ไทยจะต้องเพิ่มปริมาณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศที่สามารถจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้ ในปัจจุบันมีเพียงแค่ร้อยละ 60 ของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดที่สามารถจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้
  • และรัฐบาลจะต้องหานโยบายเพื่อที่จะโน้มน้าวคนไทยให้หันมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 เพิ่มขึ้นด้วย
  • สิ้นปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีสถิติจำนวนการจดทะเบียนยานพาหนะอยู่ที่ 41.5 ล้านคัน และส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ที่ยังใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E10 อยู่
undefined
  • ดังนั้น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20 ในปริมาณที่มากนั้นต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของรถยนต์ที่จะมารองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ด้วย
  • การพัฒนาการเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควรสำหรับรัฐบาลเองและผู้ขับขี่รถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ขับขี่จะต้องมีการซื้อรถยนต์ใหม่
  • นอกเหนือจากนั้น จะต้องพัฒนาและส่งเสริมในส่วนของภาษีและเศรษฐกิจให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้นด้วยเช่นกัน

สรุปความคิดเห็นของเรา เกี่ยวกับเป้าหมายนโยบาย E20

  • เราคิดว่าไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตของอ้อยและมันสำปะหลังมากถึง 152% ภายในปี พ.ศ. 2569
  • นี่ก็เป็นเพราะว่า ในไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ เราได้เห็นการสูญเสียผลผลิตไปจำนวนมากเนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งก็เป็นปัจจัยแวดล้อมที่เราไม่สามารถทำนายหรือคาดการณ์ได้
undefined
  • ทั้งนี้ เราคิดว่ารัฐบาลควรที่จะมีแนวทางหรือแผนงานที่ชัดเจนกว่านี้สำหรับแผนงานดำเนินการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง E20
undefined

ความคิดเห็นอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ…

  • การเดินทางบนถนนในโคลอมเบียของเรา: อยู่บนท้องถนนอีกครั้ง
  • การผลิตบีทรูทของสหภาพยุโรปที่แข็งแกร่งช่วยการผลิตกากน้ำตาล
  • ความยั่งยืนเป็นตัวขับเคลื่อน Bull Run ของการขนส่งสินค้าหรือไม่?
  • ผลกำไรจากการนำเข้าวัตถุดิบของจีนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 20 เดือน

คำอธิบายที่คุณอาจสนใจ…

  • Czapp Explains: อุตสาหกรรมเอทานอลของอินเดีย
  • Czapp Explains: อุตสาหกรรมน้ำตาลของบราซิล
undefined

Nateetorn Petchphankul

Nate joined CZ (Thailand) in 2020. He graduated from Kasetsart University with a Bachelor of Science Degree in Agriculture. Given his education background, one of his tasks is to spend some time out in the field speaking to local farmers and producers to understand the crop situation in Thailand mainly sugarcane and its competitor crops. Nate is currently responsible for crop and sugar analysis of Thailand, provide crop outlook of Thailand on CZ App also support trading team on developing and growing business relationship with domestic clients.

เพิ่มเติมจากผู้เขียนคนนี้